วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แยกประเภทเงินออมให้ชัดเจน

แยกรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วดูว่ามีเงินคงเหลือเท่าไหร่

          สาเหตุที่ต้องคำนวนเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นออกไปก่อนหลังรับเงินเดือนมา นั่นก็เพราะว่าคุณจะได้ทราบตัวเลขที่แน่นอนว่ามีเงินคงเหลืออีกจำนวนเท่าไหร่ เพื่อจะได้นำไปจัดสรรปันส่วนระหว่างเงินที่ต้องเก็บ และเงินที่สามารถใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง 


 พิจารณาดูว่าควรออมเงินแบบไหน

          คุณควรหันมาสังเกตการใช้เงินในแต่ละเดือนดูบ้าง ว่ามีการใช้จ่ายมากขนาดไหน และในอนาคตมีแผนนำเงินไปลงทุนอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้เลือกฝากเงินกับทางธนาคารตามประเภทบัญชีที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น ผู้ที่มีความคิดจะเก็บเงินซื้อบ้าน อาจต้องเลือกฝากเงินแบบฝากประจำ ทั้งนี้ก็เพื่อบังคับตัวเองให้นำเงินไปฝากตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้
 แบ่งเงินใช้จ่ายตามความเหมาะสม

          เมื่อไหร่ที่ได้รับเงินเดือนมาแล้ว ขอให้คุณแบ่งเงินเอาไว้เลยสำหรับเงินเก็บส่วนหนึ่ง และเงินสำหรับใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น เพื่อให้คุณรู้สัดส่วนจำนวนเงินที่สามารถใช้ได้จริง โดยไม่ต้องไปแตะต้องกับเงินส่วนที่ออมไว้

 ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย

          แม้ว่าจะเป็นวิธีที่ดูจุกจิกและอาจทำให้หลาย ๆ คน เบื่อกับการต้องมานั่งจดบันทึกว่ามีรายรับ - รายจ่ายมากน้อยขนาดไหน แต่มันจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า ในแต่ละวันคุณหมดเงินไปกับอะไรบ้าง หากพบว่าเงินที่ใช้ดันหมดไปกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น คราวหน้าจะได้ไม่ซื้ออีกไงคะ


วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีการสร้างเงินออม


การออมทรัพย์นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล วิธีการที่จะทำให้เกิดเงินออมขึ้นแบ่งออกได้ 2 วิธี คือ การเพิ่มรายได้และการลดรายจ่าย

1. วิธีการสร้างเงินออมโดยการเพิ่มรายได้ การหารายได้เพิ่มนั้นผู้บริโภคทุกคนสามารถที่จะหารายได้ตามความถนัดและความสามารถของตนเอง แต่ต้องได้มาด้วยความสุจริต มีจริยธรรมและคุณธรรม เช่น

1) การฝากธนาคาร การฝากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ทำธุรกิจเช่นเดียวกับธนาคารซึ่งได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย แต่จะฝากประเภทใดนั้น ให้พิจารณา จากรายละเอียดของการบริการของแต่ละธนาคารได้แก่ ฝากประจำ ฝากออมทรัพย์ และฝาก กระแสรายวัน

2) การทำประกันชีวิตแบบประกันภัยเพื่อการออมเงิน นอกจากจะคุ้มครองการเสียชีวิตแล้ว ผู้เอาประกันยังสามารถเลือกรับผลประโยชน์ตอบแทนได้ นับเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเลือกรับเงินคืนได้ตามเงื่อนไขของสัญญา มีหลายแบบให้เลือกใช้บริการ ทั้งที่ทำกับธนาคารหรือบริษัทประกันภัยต่าง ๆ นับเป็นการเพิ่มรายได้ประเภทหนึ่งแต่มักจะมีระยะเวลายาว เช่น 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี เป็นต้น
2. วิธีการสร้างเงินออมโดยการลดรายจ่าย
การที่ผู้บริโภคสามารถลดรายจ่ายได้โดยใช้สิ่งของต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้บริการต่าง ๆ อย่างประหยัดทำให้เกิดเงินออมเพิ่มขึ้นได้ การสร้างเงินออมโดยการลดรายจ่าย มีวิธีการดังนี้

1) การซื้ออย่างฉลาด คือ การซื้อสิ่งของที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพและประสิทธิภาพของสินค้า ซื้อสินค้าตามความจำเป็นที่จะต้องใช้งานเท่านั้น ไม่ซื้อสิ่งของหรือสินค้าฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น เช่น ซื้อเพราะเห็นเพื่อน ๆ มีใช้ ต้องการของแถม ให้ทันสมัยไม่ตกรุ่น เป็นต้น

2) การใช้สิ่งของอย่างฉลาด คือ การรู้จักบำรุงรักษาสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ให้สามารถใช้งานได้ถูกวิธีและใช้อย่างประหยัด รวมทั้งการประหยัดไฟ ประหยัดน้ำ ประหยัดน้ำมัน ประหยัดค่าโทรศัพท์ การประหยัดจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก และเป็นการช่วยให้เกิดเงินออมเพิ่มขึ้นได้


วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีที่ทำให้เงินออมเพิ่มมูลค่าด้วยตัวเอง


                เมื่อคนที่ไม่เก่งมีเงินเก็บสักก้อนหนึ่ง การที่ปล่อยให้มันนิ่งอยู่เฉยๆ คงไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา คุณต้องรู้จักหาเงินให้เงินออมของคุณ ไม่ใช่ว่าให้มันนิ่งอยู่อย่างนั้นโดยไม่คิดจะทำอะไร มันก็อยากที่คุณจะกลายเป็นเศรษฐีขึ้นมาได้ เพราะว่าเงินที่เก้บมันจะงอกเงยขึ้นมาสักสลึงหรือสักบาท คุณรู้ดีว่ามันอยากลำบากแค่ไหน แต่เวลาที่มันจะหมดไปนั้นเพียงแค่ชั่วอึดใจเดียว
              ด้วยเหตุนี้คุณจำเป็นต้องทำให้เงินออมของคุณเพิ่มพูนขึ้นด้วยตัวของมันเองด้วยส่วนหนึ่ง แต่ว่าคุณจะทำอย่างไรกับเงินออมของคุณดีส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 มักเอาเงินไปฝากไว้กับธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย ซึ่งทุกวันนี้มันก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฝังการออมให้เป็นนิสัย

        เมื่อฝันว่าจะมีเงินเก็บ ใช่ว่าอยู่ดีๆก็จะมีขึ้นมาได้ โดยที่คุณยังใช้จ่ายแบบเดิมๆ แม้ว่าการที่คุณจะเป็นคนร่ำรวยได้หรือไม่ เงินเก็บไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่ก็ต้องถือว่าเป็นจุดเริ่ ย่อมต้นของการปูทางไปสู่เศรษฐี เพราะตราบใดที่คุณไม่มีเงินทุนเป็นของตนเองก่อน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นๆก้เป็นเรื่องยาก
        อีกทั้งการสร้างหลักฐานด้วยทุนของตนเองนั้น ย่อมดีกว่าที่จะยืมจมูกของคนอื่นหายใจ เวลาที่พลาดพลั้งจนกิจการขาดทุน อย่างน้อยก็ไม่เกิดหนี้สิน หรือถ้าจะเกิดก็เกิดไม่มาก โอกาสที่คุณจะตั้งหลักกลับมาใหม่ก็จะใช้เวลาไม่นาน

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

งกกับประหยัดเป็นคนละเรื่องกัน

               การประหยัดกับการงก เหมือนเป็นคนละด้านกันเลยก็ว่าได้อีกทั้งคนรอบข้างที่มองก็จะมองคนละแบบ เพราะเขาจะมองว่าคนประหยัดเป็นคนที่ดี ส่วนคนงกจะถูกมองว่าเป็นคนที่น่ารังเกียจ เพราะชอบสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น

               ดังนั้นการจะทำหน้าใหญ่ใจโตเพราะเกรงจะถูกมองว่าเป็นคนงกจึงจึงไม่ใช่เรื่องที่จะนำมาเป็นข้ออ้างให้เป็นคนฟุ่มเฟือยหรือเป็นคนที่ไม่เห็นคุณค่าของเงินได้ การที่คุณรู้จักอดออมโดยไม่ต้องเดือดร้อนผู้อื่นสามารถทำได้ไม่ยาก และทำได้ง่ายเสียด้วย

               มันขึ้นอยู่กับความคิดของคุณเองต่างหากว่าจะรู้จักความหมายของคำว่าประหยัดอดออมอย่าแท้จริงหรือไม่ ยังมีความฟุ้งเฟ้ออยู่หรือเปล่า หรือรู้จักคุณค่าของเงินมากน้อยแค่ไหน อะไรที่เรียกว่างกและอะไรที่เรียกว่าไม่งก

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สำหรับคนไม่เก่งต้องนึกถึงเรื่องเงินออมทุกลมหายใจเข้าออก


           หลักการสู่การเป็นเศรษฐีข้อแรก ถ้าคุณอยากจะร่ำรวย "ให้สร้างเงินทุนส่วนเจ้าของเสียแต่เนิ่นๆ" เพราะถ้าคุณคิดเช่นนี้ได้ จะถือเป็นก้าวแรกที่คุณก้าวออกจากเส้นทางล้มละลายที่กำลังเดินอยู่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นก้าวที่สำคัญที่สุด เพราะตราบใดที่ไม่มีก้าวแรก มันก็ไม่มีก้าวต่อไป
 
           สำหรับก้าวแรกของคนไม่เก่งอาจจะแตกต่างจากคนอื่นๆ สักหน่อย เพราะต้องอาศัยการเริ่มต้นกิจการจากเงินเก็บ คนที่เก่งแล้วปล่อยเขาไป เขาอาจจะก้าวได้เร็วกว่าเรา ก็ไม่ต้องไปอิจฉาเขา เพราะเขาอาจจะเริ่มต้นสร้างกิจการได้ทันทีที่ต้องการด้วยการเข้าถึงแหล่างเงินทุนต่างๆ

           ในขณะที่คนไม่เก่งต้องเริ่มต้นด้วยการเก็บออมเงิน ซึ่งดูเหมือนว่ามันช้า แต่จะกลายเป็นว่าคนไม่เก่งกลับสามารถสร้างกิจการที่มีความมั่นคงได้มากกว่า เพราะอะไร

           

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เริ่มต้นวางระบบการใช้จ่ายเงิน

           เพื่อให้คุณมีเงินเก็บโดยอัตโนมัติ คุณจำเป็นต้องมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินที่ดีพอ ต้องรุ้จักสำรองเงินไว้สำหรับยามฉุกเฉินก่อนที่จะแปรเปลี่ยนเงินสำรองไปเป็นเงินเก็บ ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาเก็บโดยไม่มีการวางแผน เวลาที่มีเหตุฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้เงิน เงินเก็บของคุณก้คงต้องอันตรธานหายไป
   
           การวางแผนการจ่ายเงินนั้น ไม่ได้หมายถึงแต่เฉพาะการวางแผนเรื่องรายจ่ายเพียงอย่างเดียว การวางแผนการใช้จ่ายเงินยังรวมไปถึงการหาหนทางที่จะทำให้เงินที่มีเกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุดการตัดช่องทางที่จะทำให้เสียเงินโดยใช่เหตุ อะไรจ่ายแล้วนำมาซึ่งผลประโยชน์ อย่าเขียมที่จะจ่ายออกไป 

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อย่าคิดว่าจะต้องแบ่งไว้เก็บให้คิดว่าใช้อย่างไรถึงมีเงินเก็บ

           การที่คุณจะมีเงินเก็บได้หรือไม่นั้น ไม่ใช่ว่าแค่เก็บเงิน เงินเก็บของคุณก็จะงอกเงยขึ้นมา การเก็บเงินอาจจะดูเหมือนเป็นอะไรง่ายๆก็จริงอยู่ เพราะการเก็บเงินไม่ใช่เรื่องยาก แต่การจะทำให้เงินเก็บงอกเงยขึ้นเรื่อยๆเป็นอะไรที่อยากมากๆ
         
          เพราะมันจะมีเหตุที่ทำให้การเก็บเงินของคุณต้องล้มเหลวไม่เป็นท่าอยู่บ่อยครั้ง การเก็บเงินเพื่อให้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ต้องควบคู่ไปกับการวางแผนการใช้จ่ายเงินที่ดี
         
          ที่ผ่านมาคุณคงได้ยินอยู่บ่อยครั้งกับประโยคที่ว่า ใช้ 7 ส่วน เก็บ 3 ส่วน ซึ่่งถือว่าเป็นวิธีการสร้างเงินออมแบบง่ายๆ แต่ก็ใช่ว่าจะใช้ได้กับทุกคน เพราะบางครั้งเงิน 7 ส่วนที่แบ่งไว้ใช้จ่ายกลับไม่เพียงพอ เพราะอะไร เช่น ถ้าคุณมีเงินเดือน 6,000 บาท  7 ส่วนที่ว่าก็คือ 4,300 บาท ซึ่งดูเหมือนว่ามาก แต่สำหรับคนที่เช่าห้องอยู่ เมื่อหักค่าเช่าห้องแล้วก็เหลือใช้วันละ 100 บาทนิดๆ ไหนจะค่ารถ ไหนจะค่าอาหาร 3 มื้อ การใช้เงินที่เหลือให้ชนเดือนเป็นเรื่องใหญ่แน่!  เมื่อเป็นเช่นนี้การจะมานั่งคิดว่าต้องเก็บเงินคงเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าจะทำได้
           
          แต่ถ้าคุณมีการวางแผนการใช้จ่ายทางการเงินที่เป็นระบบระเบียบแล้ว คุณจะสามารถสร้างเงินเก็บขึ้นมาได้เองโดยอัตโนมัติเพราะเมื่อสามารถใช้เงินที่มีได้เพียงพอ เวลาที่คุณตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดออกไปได้ย่อมจะส่งผลให้เกิดเงินเก็บเพิ่มขึ้นยิ่งคุณสามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นได้มากเท่าไหร่ เงินเก็บของคุณก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น